มัสยิด300ปี

Posted in Uncategorized on สิงหาคม 29, 2010 by fik1991

มัสยิด 300 ปี (มัสยิดวาดีอัลฮูเซ็น หรือ มัสยิดตะโละมาเนาะ)
ตั้งอยู่ที่บ้านตะโละมาเนาะ ตำบลลุโบะสาวอ ห่างจากจังหวัดนราธิวาส เป็นระยะทาง 25 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 42 แล้วแยกที่บ้านบือราแง
นายวันฮูเซ็น อัส-ซานาวี ผู้อพยพมาจากบ้านสะนอยานยา จังหวัดปัตตานี เป็นผู้สร้างเมื่อ พ.ศ.2167 เริ่มแรกสร้างหลังคามุงใบลาน ต่อมาเปลี่ยนเป็นกระเบื้องดินเผา ลักษณะของมัสยิดมีความแตกต่างจากมัสยิดทั่วไป คือเป็นอาคาร 2 หลังติดต่อกัน สร้างด้วยไม้ตะเคียนทั้งหลัง ลักษณะการสร้างจะใช้ไม้สลักแทนตะปู
รูปทรงของอาคารเป็นแบบไทยพื้นเมืองประยุกต์เข้ากับศิลปะจีน และมลายูออกมาได้ลงตัว ส่วนเด่นที่สุดของอาคาร คือ เหนือหลังคาจะมีฐานมารองรับจั่วบนหลังคาอยู่ชั้นหนึ่ง ส่วนหออาซานซึ่งมีลักษณะเป็นเก๋งจีน ก็ตั้งอยู่บนหลังคาส่วนหลัง ฝาเรือนใช้ไม้ทั้งแผ่นแล้วเจาะหน้าต่าง ส่วนช่องลมแกะเป็นลวดลาย ใบไม้ ดอกไม้สลับลายจีน
ปัจจุบันมัสยิดนี้ยังใช้เป็นสถานประกอบศาสนกิจของชาวมุสลิม หากต้องการเข้าชมภายในต้องได้รับอนุญาตจากโต๊ะอิหม่ามประจำหมู่บ้าน โดยทั่วไปเข้าชมได้บริเวณภายนอกเท่านั้น นอกจากนั้นหมู่บ้านตะโละมาเนาะในอดีตยังเป็นแหล่งผลิตคัมภีร์อัลกุรอานที่เขียนด้วยมือ
ด้านข้างมัสยิดมีสุสานชาวมุสลิม ถ้าเป็นของผู้ชายหินที่ประดับอยู่บนหลุมฝังศพจะมีลักษณะกลม ถ้าเป็นของผู้หญิงจะเป็นหินเพียงซีกเดียว

This slideshow requires JavaScript.

มัสยิดกรือเซะ

Posted in Uncategorized on สิงหาคม 22, 2010 by fik1991

This slideshow requires JavaScript.

                    มัสยิดกรือเซะ ตั้งอยู่บ้านกรือเซะ หมู่ที่ ๒ ตำบลตันหยงลูโละ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๖ กิโลเมตร อยู่ติดกับถนนสายปัตตานี- นราธิวาส
                มัสยิดกรือเซะ มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัสยิดปิตูกรือบัน ชื่อนี้เรียกตามรูปทรงของประตูมัสยิด ซึ่งมีลักษณะเป็นวงโค้งแหลมแบบกอธิคของชาวยุโรป และแบบสถาปัตยกรรมของชาวตะวันออกกลาง (คำว่า ปิตู แปลว่า ประตู กรือบัน แปลว่า ช่องประตูที่มีรูปโค้ง)
มัสยิดกรือเซะเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ขนาดกว้าง ๑๕.๑๐ เมตร ยาว ๒๙.๖๐ เมตร สูง ๖.๕๐ เมตร เสาทรงกลม เลียนรูปลักษณะแบบเสากอธิคของยุโรป ช่องประตูหน้าต่างมีทั้งแบบโค้งแหลมและโค้งมนแบบกอธิค โดมและหลังคามีรูปทรงโค้งมน อิฐที่ใช้ก่อมีลักษณะเป็นอิฐสมัยอยุธยา ตรงฐานมัสยิดมีอิฐรูปแบบคล้ายอิฐสมัยทวารวดีปะปนอยู่บ้าง
               สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ (๒๕๒๙:๕๕-๕๖) ได้รวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับการสร้างมัสยิดกรือเซะไว้หลายกระแส หนังสือสยาเราะห์ปัตตานีของหะยีหวันหะซัน กล่าวว่าสุลต่านลองยุนุสเป็นผู้สร้าง ประมาณปีฮิจเราะฆ์ ๑๑๔๒ ตรงกับพุทธศักราช ๒๒๖๕ สมัยอยุธยาตอนปลาย และว่าเหตุที่ก่อสร้างไม่สำเร็จเนื่องจากเกิดสงครามแย่งชิงราชสมบัติระหว่างสลุต่านลองยุนุกับระตูปะกาลันซึ่งเป็นพระอนุชาของพระองค์ หลังจากสุลต่านลองยุนุสสิ้นพระชนม์แล้ว ระตูปูยุดได้รับตำแหน่งสุลต่านเมืองปัตตานีคนต่อมา ได้ย้ายศูนย์การปกครองเมืองปัตตานีไปตั้งอยู่ ณ บ้านปูยุด (ปัจจุบันอยู่ในเขตท้องที่ตำบลปูยุด อำเภอเมืองปัตตานีบริเวณที่ตั้งวังของระตูปูยุดยังคงปรากฏร่องรอยกำแพงอยู่จนบัดนี้) จึงไม่มีใครคิดสร้างมัสยิด กรือเซะต่อเติม ทิ้งไว้รกร้างจนเกิดเป็นตำนานเล่าสืบต่อกันมา
               ส่วนประวัติการสร้างมัสยิดอีกกระแสหนึ่ง มาจากความเชื่อเรื่องตำนานเจ้าแม่ลิ้มก่อเหนี่ยวว่า ลิ้มโต๊ะเคี่ยมพี่ชายซึ่งมาเข้ารับนับถือศาสนาอิสลามที่ปัตตานี ต่อมาในสมัยรายาบีรู (พ.ศ. ๒๑๕๙-๒๑๖๗) ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง แต่กลับสร้างไม่สำเร็จ สร้างถึงยอดโดมคราวใดก็พังทลายลงมาทุกครั้ง ทั้งนี้เนื่องจากในสมัยนั้นช่างยังขาดความรู้ในการก่อสร้างหลังคารูปโดม การก่อสร้างจึงยังคงค้างคาและทิ้งร้างมาเป็นเวลานาน ในปี พ.ศ.๒๕๒๕ กรมศิลปากรได้ทำการบูรณะในวาระแห่งปีเฉลิมฉลองกรุงเทพมหานครมีอายุครบ ๒๐๐ ปี และในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ กรมศิลปากรมีโครงการปรับปรุงบูรณะภายในให้สามารถปฏิบัติศาสนกิจได้ ส่วนภายนอกยังคงรักษาสภาพโบราณสถานเอาไว้เช่นเดิม

Hello world!

Posted in Uncategorized on สิงหาคม 15, 2010 by fik1991

Welcome to WordPress.com. This is your first post. Edit or delete it and start blogging!